ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ไมโครคอนโทรลเลอร์ หมายถึง ???

        ไมโครคอนโทรลเลอร์(Microcontroller) ตามความหมายในวิกิพีเดีย ได้ให้ไว้คือ อุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็ก ซึ่งตัวไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น จะมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับ ไมโครคอมพิวเตอร์ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ไมโครคอนโทรลเลอร์นั้นจะรวมเอาหน่วย ประมวลผล(CPU) หน่วยความจำ(Memory) และพอร์ตการเชื่อมต่อ(Port) ไว้ในตัวถังเพียง ตัวเดียว แต่ไมโครคอมพิวเตอร์จะแยกองค์ประกอบของอุปกรณ์ดังกล่าว ไว้บนแผงวงจรหลัก (Mainboard) และเชื่อมต่อกันผ่านบัส(BUS)

      ไมโครคอนโทรลเลอร์บางท่านอาจเรียกว่าเป็นไอซีชนิดหนึ่งก็ไม่ผิดอะไรครับ เพราะปกติแล้วมันสามารถใช้งานได้ไม่ต่างอะไรกับไอซีทั่วไปเลย ที่สำคัญเจ้าไมโครคอนโทรลเลอร์มีหลากหลายเบอร์ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และยังสามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานต่าง ๆ เพื่อควบคุมขาไอโอ(Input/Output) เพื่อรับสัญญาณจากเซนเซอร์(Sensor)หรือสั่งงานไปยังอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ ได้ และที่สำคัญยังรองรับทั้งสัญญาณดิจิตอล(Digital) และสัญญาณอนาล็อค (Analog) ทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายในระบบอัตโนมัติ เช่น ระบบประตูอัตโนมัติ เครื่องซักผ้าอัตโนมัติ ระบบบัตรคิว ระบบตอกบัตรพนักงาน ระบบคิดค่าบริการที่จอดรถและในปัจจุบันยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครื่องข่าย(Network)ที่เชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลก จึงเป็นที่มาของระบบไอโอที(Internet of Things :IoT) นั้นเอง และด้วยแทรนทางเทคโนโลยีเครือข่าย 5G มาแรงทำให้มีการเก็บรวมบรวมข้อมูลจากเซนเซอร์ต่าง ๆ ด้วยไมโครคอนโทรลแล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลที่คลาวน์ จากนั้นส่งไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ อีกที่หนึ่งทำการสั่งงานอุปกรณ์เพื่อทำงานได้แบบเรียลไทม์ได้อีกด้วย

    อ่านมาเนิ่นนาน ขอสรุปความหมายของไมโครคอนโทรลเลอร์ตามความคิดของผู้เขียนแล้วกัน ไมโครคอนโทรลเลอร์ หมายถึง อุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมคำสั่งได้ โดยมีโครงสร้างที่รวมเอาหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ และพอร์ตการเชื่อมต่อไว้ในตัวถังเดียวกันทำให้ง่ายต่อการประยุกต์ใช้งานกับระบบอัตโนมัติที่หลากหลาย และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ไมโครคอนโทรลเลอร์บางรุ่นสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายเพื่อการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น







Facebook  Fanpage : Kruphetit

        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุณสมบัติของ Arduino UNO R3

คุณสมบัติของ Arduino UNO R3            ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำในส่วนของเจ้าตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ชื่อว่า Arduino (อาดูอิโน่) ซึ่งเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์สำเร็จรูป ที่มีความสะดวกในการใช้งาน และนิยมนำมาใช้ในการเรียนรู้และพัฒนาโครงงานต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น และที่สำคัญมีราคาถูก ตลอดจนไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลนี้ใช้ชิป AVR เป็นหลักในการประมวลผลเนื่องจากมีความทันสมัยและชิปบางตัวสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านสายยูเอสบีได้เลย และยังมีโปรแกรมบูตโหลดเดอร์ (ฺBool loader) ที่จะถูกเรียกขึ้นมาก่อนจะเรียกโปรแกรมปกติ ทำให้สามารถเขียนหรือสั่งงานได้ก่อนการเรียกโปรแกรมปกติ ทำให้การใช้งานสามารถโปรแกรมผ่านพอร์ตอนุกรม USR ได้ทันที ทำให้ผมเลือกที่จะใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO R3 เป็นตัวศึกษาเรียนรู้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ภาพจาก http://digital.csic.es/bitstream/10261/127788/7/D-c- Arduino uno.pdf คุณสมบัติของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO R3      1. ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ ATmega328      2. ใช้แรงดันไฟฟ้า 5 V      3. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) 7 – 12 V      4.

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega 2560

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega 2560        บอร์ด Arduino Mega 2560 จะเหมือนกับ Arduino MEGA ADK ต่างกันตรงที่บนบอร์ดไม่มี USB Host มาให้ การโปรแกรมยังต้องทำผ่านโปรโตคอล UART อยู่ บนบอร์ดใช้ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ATmega2560 ข้อมูลจำเพาะ      1. ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ ATmega2560      2. ใช้แรงดันไฟฟ้า 5V      3. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) 7 – 12V      4. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) 6 – 20V      5. พอร์ต Digital I/O 54 พอร์ต (มี 15 พอร์ต PWM output)      6. พอร์ต Analog Input 16 พอร์ต      7. กระแสไฟฟ้ารวมที่จ่ายได้ในทุกพอร์ต 40mA      8. กระแสไปที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V 50mA      9. พื้นที่โปรแกรมภายใน 256KB แต่ 8KB ถูกใช้โดย Bootloader      10. พื้นที่แรม 8KB      11. พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) 4KB      12. ความถี่คริสตัล 16MHz ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ioxhop.com/

ตัวต้านทานที่แปรค่าตามแสง (LDR)

ตัวต้านทานที่แปรค่าตามแสง (Light Dependent Resistor, LDR)           เราสามารถมองความเข้มแสงหรือความสว่างเป็นสัญญาณประเภทหนึ่งที่มนุษย์ สามารถสัมผัสได้ด้วยดวงตา ความสว่างมีหน่วยเป็นลักซ์ (lux) เป็นหน่วยที่ใช้วัดค่าความสว่าง (Illuminance) ต่อพื้นที่ หรือคิดเป็นลูเมนต่อตารางเมตร โดยในปกติความสว่างตามสถานที่ ต่าง ๆ นั้นได้มาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน เช่น จากหลอดไฟ ดวงอาทิตย์หรือแสงจากไฟ บริเวณข้างเคียง เป็นต้น ในทางปฏิบัติจะมีการกำหนดค่าความสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งาน ในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีค่าไม่น้อยกว่า 50-500 ลักซ์ ตัวต้ำนทานที่แปรค่าตามแสง (Light Dependent Resistor, LDR          แอลดีอาร์(LDR) หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Light Dependent Resistor หรือตัวต้านทานที่ แปรค่าตามแสง คือ ตัวต้านทานชนิดที่เปลี่ยนสภาพความนำไฟฟ้า (Conductance) ได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ ทำจากวัสดุสารกึ่งตัวนำที่ไวต่อแสง บางครั้งเราเรียก LDR เซนเซอร์ชนิดนี้ ว่าโฟโตรีซีสเตอร์ (Photoresistor) หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์ (Photoconductor) บางครั้งจะอยู่ในรูปแบบโมดูลวัดความสว่างที่ใช้ LDR เป็นเซนเซอร์โมดูลนี้ให้สัญญาณเอ