ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ส่วนประกอบของไมโครคอนโทรลเลอร์

ส่วนประกอบของไมโครคอนโทรลเลอร์

1.ไฟเลี้ยงวงจร จากที่เคยกล่าวมาแล้วไมโครคอนโทรเลอร์นั้นเปรียบเสมือนไอซีตัวหนึ่ง เมื่อไอซีจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการจ่ายไฟเลี้ยงเข้าไป โดยส่วนใหญ่แล้วต้องการไฟเลี้ยงอยู่ระหว่าง 3.3-5 โวลต์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้กินไฟได้น้อยลงซึ่งจะอยู่ประมาณ 1.8 โวลต์
2.หน่วยผลิตสัญญาณนาฬิกา มีหน้าที่ผลิตสัญญาณนาฬิกาเพื่อใช้ควบคุมการทำงานหรือการประมวลผลต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คริสตอลเป็นตัวผลิตความถี่สัญญาณนาฬิกา ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 4 – 20 Mhz  (4-20 ล้านคำสั่งต่อวินาที) และในปัจจุบันไมโครคอนโทรลเลอร์บางตัวยังได้รับการพัฒนาให้มีวงจรผลิตความถี่ภายในตัวเองจึงไม่ต้องอาศัยหน่วยผลิตสัญญาณนาฬิกาจากภายนอก
3.วงจรรีเซต เป็นวงจรที่สั่งให้ไมโครคอนโทรลเลอร์เริ่มต้นทำงานตามคำสั่งโปรแกรมตั้งแต่แรก ถ้ามีการกดปุ่มรีเซ็ต ในขณะที่ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานอยู่ ไมโครคอนโทรลเลอร์ก็จะเริ่มกลับไปทำงานตั้งแต่แรกใหม่ และที่สำคัญถ้าไม่มีวงจรรีเซ็ตไม่โครคอนโทรลเลอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้
4.ข้อมูล(DATA) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งในส่วนแรกจะเป็นข้อมูลหลักนิยมเรียกกันว่าเฟริมแวร์คือโปรแกรมหลักที่เราทำงานเขียนให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานต่าง ๆ โดยข้อมูลนี้จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักของไมโครคอนโทรลเลอร์ในขั้นตอนของการเบิร์นโปรแกรม (ปัจจุบันคือขั้นตอนการอัพโหลด) ข้อมูลดังกล่าวจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำ ROM ทำให้เมื่อไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงข้อมูลของโปรแกรมดังกล่าวก็ยังคงอยู่ ส่วนที่สองของข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลซึ่งเป็นแบบชั่วคราว ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะได้รับมาจากค่าเซนเซอร์ต่าง ๆ หรือค่าตัวแปรที่ถูกสร้างขึ้นโดยการเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผล ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะถูกจัดเก็บในหน่วยความจำ RAM ถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลแบบชั่วคราว เมื่อไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าข้อมูลต่าง ๆ ก็จะหายไปในที่สุด
5.พอร์ต IO (Input / Output Port) เป็นพอร์ตรับและแสดงผลของไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งพอร์ตรับข้อมูลมีไว้สำหรับต่อเข้ากับเซนเซอร์ชนิดต่าง ๆ เพื่อรับค่าเข้ามาประมวลผล และในขณะที่ต้องการแสดงผลหรือส่งข้อมูลต่าง ๆ ออกไปจะส่งข้อมูลนั้นโดยผ่านพอร์ตเอาต์พุตไปยังอุปกรณ์แสดงผลหรืออุปกรณ์ควบคุมเพื่อทำงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่เราเขียนโปรแกรมไว้นั้นเอง





ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุณสมบัติของ Arduino UNO R3

คุณสมบัติของ Arduino UNO R3            ก่อนหน้านี้ผมได้แนะนำในส่วนของเจ้าตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ชื่อว่า Arduino (อาดูอิโน่) ซึ่งเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์สำเร็จรูป ที่มีความสะดวกในการใช้งาน และนิยมนำมาใช้ในการเรียนรู้และพัฒนาโครงงานต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น และที่สำคัญมีราคาถูก ตลอดจนไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลนี้ใช้ชิป AVR เป็นหลักในการประมวลผลเนื่องจากมีความทันสมัยและชิปบางตัวสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านสายยูเอสบีได้เลย และยังมีโปรแกรมบูตโหลดเดอร์ (ฺBool loader) ที่จะถูกเรียกขึ้นมาก่อนจะเรียกโปรแกรมปกติ ทำให้สามารถเขียนหรือสั่งงานได้ก่อนการเรียกโปรแกรมปกติ ทำให้การใช้งานสามารถโปรแกรมผ่านพอร์ตอนุกรม USR ได้ทันที ทำให้ผมเลือกที่จะใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO R3 เป็นตัวศึกษาเรียนรู้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ภาพจาก http://digital.csic.es/bitstream/10261/127788/7/D-c- Arduino uno.pdf คุณสมบัติของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO R3      1. ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ ATmega328      2. ใช้แรงดันไฟฟ้า 5 V      3. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) 7 – 12 V      4.

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega 2560

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega 2560        บอร์ด Arduino Mega 2560 จะเหมือนกับ Arduino MEGA ADK ต่างกันตรงที่บนบอร์ดไม่มี USB Host มาให้ การโปรแกรมยังต้องทำผ่านโปรโตคอล UART อยู่ บนบอร์ดใช้ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ATmega2560 ข้อมูลจำเพาะ      1. ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ ATmega2560      2. ใช้แรงดันไฟฟ้า 5V      3. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) 7 – 12V      4. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) 6 – 20V      5. พอร์ต Digital I/O 54 พอร์ต (มี 15 พอร์ต PWM output)      6. พอร์ต Analog Input 16 พอร์ต      7. กระแสไฟฟ้ารวมที่จ่ายได้ในทุกพอร์ต 40mA      8. กระแสไปที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V 50mA      9. พื้นที่โปรแกรมภายใน 256KB แต่ 8KB ถูกใช้โดย Bootloader      10. พื้นที่แรม 8KB      11. พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) 4KB      12. ความถี่คริสตัล 16MHz ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ioxhop.com/

ตัวต้านทานที่แปรค่าตามแสง (LDR)

ตัวต้านทานที่แปรค่าตามแสง (Light Dependent Resistor, LDR)           เราสามารถมองความเข้มแสงหรือความสว่างเป็นสัญญาณประเภทหนึ่งที่มนุษย์ สามารถสัมผัสได้ด้วยดวงตา ความสว่างมีหน่วยเป็นลักซ์ (lux) เป็นหน่วยที่ใช้วัดค่าความสว่าง (Illuminance) ต่อพื้นที่ หรือคิดเป็นลูเมนต่อตารางเมตร โดยในปกติความสว่างตามสถานที่ ต่าง ๆ นั้นได้มาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน เช่น จากหลอดไฟ ดวงอาทิตย์หรือแสงจากไฟ บริเวณข้างเคียง เป็นต้น ในทางปฏิบัติจะมีการกำหนดค่าความสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งาน ในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีค่าไม่น้อยกว่า 50-500 ลักซ์ ตัวต้ำนทานที่แปรค่าตามแสง (Light Dependent Resistor, LDR          แอลดีอาร์(LDR) หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Light Dependent Resistor หรือตัวต้านทานที่ แปรค่าตามแสง คือ ตัวต้านทานชนิดที่เปลี่ยนสภาพความนำไฟฟ้า (Conductance) ได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ ทำจากวัสดุสารกึ่งตัวนำที่ไวต่อแสง บางครั้งเราเรียก LDR เซนเซอร์ชนิดนี้ ว่าโฟโตรีซีสเตอร์ (Photoresistor) หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์ (Photoconductor) บางครั้งจะอยู่ในรูปแบบโมดูลวัดความสว่างที่ใช้ LDR เป็นเซนเซอร์โมดูลนี้ให้สัญญาณเอ