MrJazsohanisharma

ไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับงานด้าน IoT (ESP32)

        ไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับงานด้าน IoT (ESP32)
     จากบทความก่อนหน้านี้ผมได้เขียนเกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับงานด้าน IoT (ESP8266) ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะว่ามีราคาถูก ขนาดเล็ก และตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายจึงเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ต้น ๆ ที่นักพัฒนานิยมนำมาประยุกต์ใช้งานด้าน IoT แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่ต้องการความเร็วในการประมวลผล การเชื่อมต่อ และความต้องการใช้งานที่หลากหลายเพิ่มมากยิ่ง ส่งผลให้บริษัท Espressif System ประเทศจีน ชื่อคุ้น ๆ ใช่ไหมครับ ถูกต้องแล้วครับ เป็นบริษัทเดียวกับที่ผลิตไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 ต้องพัฒนาไมโครคอนโทรลเลอร์ให้มีประสิทธิภาพและศักยภาพที่เพิ่มเติมขึ้นมาด้วย จึงเป็นที่มาของเจ้าตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีชื่อว่า ESP32
         ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP 32 ซึ่งมีขนาด 32 บิต รองรับการเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi และที่เหนือกว่า ESP8266 คือสามารถเชื่อมต่อสัญญาณบลูทูธเวอร์ชั่น 4.2 ได้ด้วยทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้มากขึ้น นอกจากนี้แล้วเจ้าตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ยังใช้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Tensilica LX6 จำนวน 2 คอร์ ที่ความถี่ 240 MHz ส่งผลให้สามารถแยกการทำงานระหว่างโปรแกรมที่บริหารจัดการเกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่าย WiFi และการทำงานของโปรแกรมออกจากกัน ทำให้เกิดความเสถียรมากขึ้น
        นอกจากนี้แล้วไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ยังสามารถเขียนคำสั่งโดยใช้โปรแกรม Arduino IDE อีกทั้งยังรองรับไลบารี่ส่วนใหญ่ของ Arduino ที่พัฒนาสำหรับ ESP8266 ก่อนหน้านี้ทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย และราคาถูกลงเรื่อย ๆ ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งราคาปัจจุบันอยู่ประมาณ 200 บาท ก็ถือว่าเป็นราคาที่คุ้มค่ามาก ๆ เลยครับกับประสิทธิภาพและความสามารถที่ได้มาของเจ้าตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32


คุณสมบัติของไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32
  •   ซีพียูใช้สถาปัตยกรรม Tensilica LX6 แบบ 2 แกนสมอง สัญญาณนาฬิกา 240MHz
  •   มีแรมในตัว 512KB
  •   รองรับการเชื่อมต่อรอมภายนอกสูงสุด 16MB
  •   มาพร้อมกับ WiFi มาตรฐาน 802.11 b/g/n รองรับการใช้งานทั้งในโหมด Station softAP และ Wi-Fi direct
  •   มีบลูทูธในตัว รองรับการใช้งานในโหมด 2.0 และโหมด 4.0 BLE
  •   ใช้แรงดันไฟฟ้าในการทำงาน 2.6V ถึง 3V
  •   ทำงานได้ที่อุณหภูมิ -40◦C ถึง 125◦C

เซนเซอร์ต่าง ๆ ที่มีมาให้ในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32

  •   วงจรกรองสัญญาณรบกวนในวงจรขยายสัญญาณ
  •   เซ็นเซอร์แม่เหล็ก
  •   เซ็นเซอร์สัมผัส (Capacitive touch) รองรับ 10 ช่อง
  •   รองรับการเชื่อมต่อคลิสตอล 32.768kHz สำหรับใช้กับส่วนวงจรนับเวลาโดยเฉพาะ
  •   ขาใช้งานต่าง ๆ ของ ESP32 รองรับการเชื่อมต่อบัสต่าง ๆ ดังนี้
          ESP32 ยังรองรับฟังก์ชั่นเกี่ยวกับความปลอดภัยต่าง ๆ
  •  รองรับการเข้ารหัส WiFi แบบ WEP และ WPA/WPA2 PSK/Enterprise
  •  มีวงจรเข้ารหัส AES / SHA2 / Elliptical Curve Cryptography / RSA-4096 ในตัว
        ประสิทธิ์ภาพการใช้งาน ตัว ESP32 ในการรับ – ส่ง ข้อมูล
  • ได้ความเร็วสูงสุดที่ 150Mbps เมื่อเชื่อมต่อแบบ 11n HT40
  • ได้ความเร็วสูงสุด 72Mbps เมื่อเชื่อมต่อแบบ 11n HT20
  • ได้ความเร็วสูงสุดที่ 54Mbps เมื่อเชื่อมต่อแบบ 11g
  • ได้ความเร็วสูงสุดที่ 11Mbps เมื่อเชื่อมต่อแบบ 11b
  • เมื่อใช้การเชื่อมต่อผ่านโปรโตคอล UDP จะสามารถรับ – ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 135Mbpsในโหมด Sleep ใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 2.5uA
ด้วยเหตุนี้ ESP32 จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้งานมาก ด้วยเหตุผลทางด้านราคา และประสิทธิ์ภาพที่ได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.robotsiam.com/



แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า