ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตัวต้านทาน (Resistor) คืออะไร

 ตัวต้านทาน (Resistor) คืออะไร

    ตัวต้านทาน หรือเรียกอีกชื่อว่าตัว R เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปนิยมเอามาประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟ้ฟ้า เช่น วงจรเครื่องรับวิทยุ วงจรโทรทัศน์ วงจรเครื่องขยายเสียง เป็นต้น ตัวต้านทานที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้าทำหน้าที่ในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทำด้วยลวดต้านทานหรือถ่านคาร์บอน เป็นต้น ในกรณีที่มีความต้านทานมากจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อยลง หากกลับกัน หากมีความต้านทานน้อยจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้มาก ลดแรงดัน และจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ตัวต้านทานมีรูปแบบและขนาดแตกต่างกันตามลักษณะของการใช้งาน นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็นชนิด ค่าคงที่ และ ชนิดปรับค่าได้
คุณสมบัติเฉพาะตัวของ ตัวต้านทาน
"ต้านทานกระแสไฟฟ้า "ทั้งไฟฟ้ากระแสสลับ และ ไฟฟ้ากระแสตรง"
จากกฎของโอห์มที่ว่า E=I x R (แรงดัน เท่ากับ กระแส คูณ ความต้านทาน)
ชนิดและรูปร่างหน้าตาของ ตัวต้านทาน
      ตัวต้านทานมีมากมายหลากหลายชนิด แต่อันที่จริงแล้วเพียงแค่รูปร่างหน้าตาเท่านั้นที่ไม่เหมือนกัน เพราะจุดประสงค์หลักก็คือ "ต้านทานกระแสไฟฟ้า" เอาหละไปดูกันดีกว่าครับว่ามีแบบไหนที่คุ้นตากันบ้าง
แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลักดังนี้
  1. ตัวต้านทาน ค่าคงที่ (Fixed Resistor) นิยมใช้งานมากที่สุด มีในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด
  2.ตัวต้านทาน ปรับค่าได้ (Adjustable Resistor) การใช้งานจะสามารถปรับค่าความต้านทานได้กว้างแต่ส่วนใหญ่เมื่อปรับแล้วจะคงค่าไว้ตลอด
  3.ตัวต้านทาน เปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor) นิยมใช้งาน เช่น ใช้ในการเร่งลดความดังในเครื่องขยายเสียง
1. ตัวต้านทาน ค่าคงที่ (Fixed Resistor) 
สัญลักษณ์ของตัวต้านทานค่าคงที่ 
      ชนิดค่าคงที่นี้สามารถพบเห็นและถูกใช้งานมากที่สุด เพราะสามารถใช้งานได้ง่ายไม่ยุ่งยากเพียงแค่ 2 ขาเท่านั้นเองโดยเจ้าตัวต้านทาน  ค่าคงที่นี้สามารถจำแนกได้ตามชนิดและรูปร่างดังนี้
ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)
         ตัวต้านทานแบบคาร์บอน เป็นตัวต้านทานชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด สาเหตุที่ตัวต้านทานคาร์บอนได้รับความนิยมเพราะ ราคาถูกจึงนิยมใช้ในวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ องค์ประกอบตัวต้านทานผลิตจากส่วนผสมของฝุ่นผงคาร์บอนที่บดละเอียดหรือกราไฟท์ (คล้ายกับไส้ดินสอ) และผงเซรามิก (ดินเหนียว) ที่ไม่นำไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นโครงสร้างภายนอกของตัวต้านทาน
     อัตราส่วนของฝุ่นคาร์บอนต่อเซรามิก (ตัวนำต่อฉนวน) กำหนดค่าความต้านทานโดยรวมของส่วนผสมและยิ่งอัตราส่วนของคาร์บอนสูงเท่าใดความต้านทานโดยรวมก็จะยิ่งลดลง ส่วนผสมถูกขึ้นรูปเป็นรูปทรงกระบอกโดยมีสายโลหะหรือตะกั่วติดอยู่ที่ปลายแต่ละด้านเพื่อให้มีการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าตามที่แสดงก่อนที่จะเคลือบด้วยวัสดุฉนวนด้านนอกและเครื่องหมายรหัสสีเพื่อแสดงค่าความต้านทาน
     ตัวต้านทานแบบคาร์บอน สามารถทนกำลังไฟฟ้าได้ต่ำถึงปานกลาง และ มีความเหนี่ยวนำต่ำทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในลักษณะงานที่มีความถี่สูง แต่ก็อาจการรบกวนและความเสถียรเมื่อเกิดความร้อน สามารถทนกำลังไฟได้ตั้งแต่ 1/4, 1/2, 1, 2, 3, 5 วัตต์(W.) สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีทุกร้านแน่นอนโดยหน้าตาของ ตัวต้านทานชนิดนี้ ถ้าได้เห็นก็ต้องร้องอ๋อแน่นอน การอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานชนิดนี้ ใช้การอ่านค่าสี โดยมีทั้งแบบ 4แถบสี และ 5แถบสี โดยรายละเอียดวิธีการอ่านไว้บทความถัดไปครับ

ตัวต้านทานแบบฟิล์ม (Film)

       ตัวต้านทานแบบฟิล์ม ประกอบด้วยตัวต้านทานฟิล์มโลหะ ฟิล์มคาร์บอนและโลหะออกไซด์ซึ่งโดยทั่วไปทำจากโลหะบริสุทธิ์ เช่น นิกเกิลหรือฟิล์มออกไซด์ โดยนำ ดีบุกออกไซด์หุ้มลงบนแท่งเซรามิกที่เป็นฉนวน หรือสารตั้งต้น ค่าความต้านทานของตัวต้านทานจะถูกกำหนดโดยการเพิ่มความหนาตามที่ต้องการของฟิล์มที่หุ้มฉนวนเอาไว้โดยบางครั้งอาจเรียกว่า "ตัวต้านทานฟิล์มหนา" หรือ "ตัวต้านทานฟิล์มบาง"เมื่อถูกหุ้มหรือพันลงไปแล้วจะใช้เลเซอร์เพื่อตัดรูปแบบร่องเกลียวเกลียวที่มีความแม่นยำสูงลงในฟิล์มนี้ การตัดฟิล์มมีผลในการเพิ่มสื่อกระแสไฟฟ้าหรือความต้านทานเช่นการใช้ลวดตรงยาว ๆ แล้วขึ้นรูปเป็นขดลวด 
     วิธีการผลิตนี้ช่วยให้ได้ตัวต้านทานความทนทานที่มีค่าความผิดพลาดใกล้เคียง (1% หรือน้อยกว่า) เมื่อเทียบกับตัวต้านทานแบบคาร์บอนที่เรียบง่ายกว่า ค่าความคลาดเคลื่อนของความตัวต้านทาน(เช่นความต้านทาน 100 โอห์ม) ค่าจริงที่ผลิตได้คือ 103.6 โอห์มและแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์เช่น 5% 10% เป็นต้น ตัวต้านทานแบบฟิล์มยังให้ค่าโอห์ม ที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับชนิดและค่าอื่น ๆ มีค่าเกิน10MΩ (10 ล้านโอห์ม)
ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (WireWound)
          Wirewound Resistor สร้างโดยการพันลวดโลหะผสมบางๆ (Nichrome) หรือลวดที่คล้ายกันพันเข้ากับเซรามิกฉนวนในรูปแบบของเกลียวเกลียวคล้ายกับตัวต้านทานแบบฟิล์ม โดยทั่วไปตัวต้านทานประเภทนี้จะมีเฉพาะในวงจรที่ต้องการความแม่นยำสูง และยังมีค่าโอห์มมิกที่ต่ำมาก (ตั้งแต่0.01Ωถึง100kΩ) นอกจากนี้ยังสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าที่สูงกว่าตัวต้านทานชนิดอื่นๆ ที่มีค่าโอห์มมิกเท่ากันโดยสามารถทนกำลังไฟฟ้าได้เกิน 300 วัตต์ ตัวต้านทานกำลังสูงเหล่านี้จะถูกติดกับตัวระบายความร้อนอะลูมิเนียมโดยมีครีบติดอยู่เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวโดยรวมเพื่อลดการสูญเสียต่อความร้อนและช่วยในการระบายความร้อน
สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน ปรับค่า และ เปลี่ยนค่า
        มีรูปแบบสัญลักษณ์ที่เหมือนกันครับ จากที่ผมได้ลองค้นข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ต ดูหากผิดพลาดสามารถบอกได้นะครับ
2. ตัวต้านทาน ปรับค่าได้ (Adjustable Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้เป็นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้านทานที่ต้องการใช้งานได้ โดยบนที่ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีปลอกโลหะหลวมอยู่ และสามารถเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้ได้ความต้านทานที่ต้องการ มีสกรูขันยึดปลอกโลหะให้สัมผัสแน่นกับเส้นลวดที่ตัวต้านทาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่ง การใช้งานของตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ จะใช้ค่าความต้านทานเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งที่ปรับไว้เท่านั้น รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่า แสดงดังรูป (ตัวต้านทานชนิดนี้ สามารถทนกำลังวัตต์ได้สูง)
3.ตัวต้านทาน เปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor)

         ตัวต้านทาน เปลี่ยนค่าได้ พอได้อ่านหรือฟังอาจจะดูแปลกๆ เพราะปกติจะถูกเรียกว่า ตัวต้านทานปรับค่าได้ ซึ่งหน้าตาของตัวต้านทานชนิดนี้ก็ตามภาพด้านบนเลยครับ จะถูกใช้เป็น โวลลุ่มปรับเร่งลดเสียง พอเห็นเช่นนี้แล้วก็คงจะอ๋อกันเลยหละผมว่า ไม่เฉพาะในเครื่องขยายเสียง เครื่องมือวัดก็ใช้กัน โทรทัศน์รุ่นเก่าๆ เครื่องคุมแสง สี เครื่องจ่ายไฟสำหรับห้องทดลอง เป็นต้น และ ตัวต้านทานที่นำมาใช้เป็น Volume นั้นมีด้วยกันอีก 3 แบบคือ
    1.แบบ A หรือแบบล็อก(Log) ค่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตอนปลาย
    2.แบบ B หรือแบบลิเนียร์(Linear)ค่าจะเปลี่ยนแปลงแบบสม่ำเสมอแต่ต้นจนปลาย
    3.แบบ C ชนิดนี้จะตรงข้ามกับแบบ A คือค่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตอนต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอด LED หรือ ไดโอดเปล่งแสง

หลอด LED หรือ ไดโอดเปล่งแสง      ไดโอดเปล่งแสง (light-emitting diode) เรียกย่อ ๆ ว่า LED คือ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกสารกึ่งตัวนำซึ่งสามารถเปล่งแสงออกมาได้แสงที่เปล่งออกมาประกอบด้วยคลื่นความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างกับแสงธรรมดาที่ตาคนมองเห็นโดยหลอด LED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างก็ยังดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป LED เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ให้แสงสว่างซึ่งมีหลายขนาดและมีรูปร่างหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานหลอด LED สามารถให้แสงได้หลายๆ ความยาวคลื่น เช่น สามารถให้แสงสีแดง, แสงสีน้ำเงิน, แสงสีเขียว, แสงสีขาว ฯลฯ       โดยทั่วไปมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ LED ชนิดที่ตาคนเห็นได้ กับชนิดที่ตาคนมองไม่เห็นต้องใช้ทรานซิสเตอร์มาเป็นตัวรับแสงแทนตาคน       ปัจจุบันจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เทคโนโลยีของ LED ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วตามไปด้วย. LED ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านสีของแสงที่เปล่งออกมา ไม่ว่าจะเป็นสีแดง ,สีเขียว ,สีส้ม หรือที่ผลิตได้ท้ายสุด และทำให้วงการแอลอีดีพัฒน

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega 2560

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega 2560        บอร์ด Arduino Mega 2560 จะเหมือนกับ Arduino MEGA ADK ต่างกันตรงที่บนบอร์ดไม่มี USB Host มาให้ การโปรแกรมยังต้องทำผ่านโปรโตคอล UART อยู่ บนบอร์ดใช้ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ATmega2560 ข้อมูลจำเพาะ      1. ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ ATmega2560      2. ใช้แรงดันไฟฟ้า 5V      3. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) 7 – 12V      4. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) 6 – 20V      5. พอร์ต Digital I/O 54 พอร์ต (มี 15 พอร์ต PWM output)      6. พอร์ต Analog Input 16 พอร์ต      7. กระแสไฟฟ้ารวมที่จ่ายได้ในทุกพอร์ต 40mA      8. กระแสไปที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V 50mA      9. พื้นที่โปรแกรมภายใน 256KB แต่ 8KB ถูกใช้โดย Bootloader      10. พื้นที่แรม 8KB      11. พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) 4KB      12. ความถี่คริสตัล 16MHz ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ioxhop.com/

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)        มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current motor) หรือเรียกว่า ดี.ซี มอเตอร์ (D.C. MOTOR) เป็นเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรงที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลมีทั้งชนิดกระตุ้นฟีลด์จากภายนอก (Separated excited motor) และชนิดกระตุ้นฟีลด์ด้วยตัวเอง (Self excited motor) มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นต้นกำลังขับที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะ มีคุณสมบัติที่เด่นในด้านการปรับความเร็วรอบตั้งแต่ความเร็วรอบต่ำสุดไปจนถึงความเร็วรอบสูงสุด นิยมใช้ในโรงงานทอผ้า โรงงานเส้นใยโพลี เอสเตอร์ โรงงานถลุงโลหะ และเป็นต้นกำลังขับในรถไฟฟ้า       หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current motor) เมื่อแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปในมอเตอร์ ส่วนหนึ่งจะ แปรงถ่านผ่านคอมมิวเตเตอร์เข้าไปในขดลวดอาร์มาเจอร์สร้างสนามแม่เหล็กขึ้น และกระแสไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่งจะไหลเข้าไปในขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field coil) สร้างขั้วเหนือ-ใต้ขึ้น จนเกิดสนามแม่เหล็ก 2 สนาม ในขณะเดียวกันตามคุณสมบัติของเส้นแรง แม่เหล็กจะไม่ตัดกัน ทิศทางตรงข้ามจะหักล้างกันและทิศทางเดียวจะเสริมแรงกัน ทำให้เกิดแรงบิดในตัวอาร์มาเจอร์ ท