รีเลย์ (Relay)
รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์ที่อาศัยการทำงานในลักษณะสวิตช์ ร่วมกับแม่เหล็กไฟฟ้านั่นคือ เราจะใช้แม่เหล็กไฟฟ้าในการควบคุมการเปิด-ปิดสวิตช์ของอีกวงจรหนึ่ง
แสดงลักษณะรีเลย์
ลักษณะรีเลย์ที่มีใช้งานทั่วไปในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะภายในรีเลย์ คือ รีเลย์จะมีขดลวดชุดหนึ่ง ที่เมื่อจ่ายไฟให้แล้ว ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น โดยสนามแม่เหล็กนี้จะดึงดูดสวิตช์ให้ปิด (และเปิด) วงจรอีกด้านหนึ่ง
โดยวงจรทั้งสองด้านนี้ อาจไม่มีความเชื่อมโยงกันทางไฟฟ้าเลย บนตัวถังของรีเลย์ มักระบุค่าพิกัด กระแส-แรงดัน ของตัวรีเลย์ ทั้งด้านที่เป็นสวิตช์และด้านที่เป็นขดลวด
โดยวงจรทั้งสองด้านนี้ อาจไม่มีความเชื่อมโยงกันทางไฟฟ้าเลย บนตัวถังของรีเลย์ มักระบุค่าพิกัด กระแส-แรงดัน ของตัวรีเลย์ ทั้งด้านที่เป็นสวิตช์และด้านที่เป็นขดลวด
แสดงสัญลักษณ์ทางวงจรของรีเลย์
โดยการเรียกชื่อขั้วต่อ จะเหมือนกับสวิตช์ SPDT คือ มีขั้วคอมมอน (Common, C),ปกติปิด (Normally Closed, NC) และ ปกติเปิด (Normally Open, NO) โดยรีเลย์ตัวหนึ่งๆ อาจมีขั้วเหล่านี้หลาย ๆ ชุดก็ได้ เราสามารถใช้มัลติมิเตอร์ตรวจสอบขาต่าง ๆ ของรีเลย์ได้โดยการวัดความต้านทานของขั้วต่อแต่ละคู่ประโยชน์ของรีเลย์
1. ทำให้ระบบส่งกำลังมีเสถียรภาพ (Stability) สูงโดยรีเลย์จะตัดวงจรเฉพาะส่วนที่เกิดผิดปกติ ออกเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการลดความเสียหายให้แก่ระบบน้อยที่สุด
2. ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมส่วนที่เกิดผิดปกติ
3. ลดความเสียหายไม่เกิดลุกลามไปยังอุปกรณ์อื่นๆ
4. ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่ดับทั้งระบบเมื่อเกิดฟอลต์ขึ้นในระบบ
คุณสมบัติที่ดีของรีเลย์
1 .ต้องมีความไว (Sensitivity) คือมีความสามารถในการตรวจพบสิ่งที่ผิดปกติเพียงเล็กน้อยได้
2. มีความเร็วในการทำงาน (Speed) คือความสามารถทำงานได้รวดเร็วทันใจ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์และไม่กระทบกระเทือนต่อระบบ โดยทั่วไปแล้วเวลา ที่ใช้ในการตัดวงจรจะขึ้นอยู่กับระดับของแรงดันของระบบด้วย
ระบบ 6-10 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 1.5-3.0 วินาที
ระบบ 100-220 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 0.15-0.3 วินาที
ระบบ 300-500 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 0.1-0.12 วินาที
1 .ต้องมีความไว (Sensitivity) คือมีความสามารถในการตรวจพบสิ่งที่ผิดปกติเพียงเล็กน้อยได้
2. มีความเร็วในการทำงาน (Speed) คือความสามารถทำงานได้รวดเร็วทันใจ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์และไม่กระทบกระเทือนต่อระบบ โดยทั่วไปแล้วเวลา ที่ใช้ในการตัดวงจรจะขึ้นอยู่กับระดับของแรงดันของระบบด้วย
ระบบ 6-10 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 1.5-3.0 วินาที
ระบบ 100-220 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 0.15-0.3 วินาที
ระบบ 300-500 เควี จะต้องตัดวงจรภายในเวลา 0.1-0.12 วินาที
1. แรงดันใช้งาน หรือแรงดันที่ทำให้รีเลย์ทำงานได้ หากเราดูที่ตัวรีเลย์จะระบุค่า แรงดันใช้งานไว้ (หากใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนมากจะใช้แรงดันกระแสตรงในการใช้งาน) เช่น 12VDC คือต้องใช้แรงดันที่ 12 VDC เท่านั้นหากใช้มากกว่านี้ ขดลวดภายใน ตัวรีเลย์อาจจะขาดได้ หรือหากใช้แรงดันต่ำกว่ามาก รีเลย์จะไม่ทำงาน ส่วนในการต่อวงจรนั้นสามารถต่อขั้วใดก็ได้ครับ เพราะตัวรีเลย์ จะไม่ระบุขั้วต่อไว้ (นอกจากชนิดพิเศษ)
2. การใช้งานกระแสผ่านหน้าสัมผัส ซึ่งที่ตัวรีเลย์จะระบุไว้ เช่น 10A 220AC คือ หน้าสัมผัสของรีเลย์นั้นสามาถทนกระแสได้ 10 แอมแปร์ที่ 220VAC ครับ แต่การใช้ก็ควรจะใช้งานที่ระดับกระแสต่ำกว่านี้จะเป็นการดีกว่าครับ เพราะถ้ากระแสมากหน้าสัมผัส ของรีเลย์จะละลายเสียหายได
3. จำนานหน้าสัมผัสการใช้งาน ควรดูว่ารีเลย์นั้นมีหน้าสัมผัสให้ใช้งานกี่อัน และมีขั้วคอมมอนด้วยหรือไม่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.psptech.co.th/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น