ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2021

ตัวต้านทานที่แปรค่าตามแสง (LDR)

ตัวต้านทานที่แปรค่าตามแสง (Light Dependent Resistor, LDR)           เราสามารถมองความเข้มแสงหรือความสว่างเป็นสัญญาณประเภทหนึ่งที่มนุษย์ สามารถสัมผัสได้ด้วยดวงตา ความสว่างมีหน่วยเป็นลักซ์ (lux) เป็นหน่วยที่ใช้วัดค่าความสว่าง (Illuminance) ต่อพื้นที่ หรือคิดเป็นลูเมนต่อตารางเมตร โดยในปกติความสว่างตามสถานที่ ต่าง ๆ นั้นได้มาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน เช่น จากหลอดไฟ ดวงอาทิตย์หรือแสงจากไฟ บริเวณข้างเคียง เป็นต้น ในทางปฏิบัติจะมีการกำหนดค่าความสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งาน ในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีค่าไม่น้อยกว่า 50-500 ลักซ์ ตัวต้ำนทานที่แปรค่าตามแสง (Light Dependent Resistor, LDR          แอลดีอาร์(LDR) หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Light Dependent Resistor หรือตัวต้านทานที่ แปรค่าตามแสง คือ ตัวต้านทานชนิดที่เปลี่ยนสภาพความนำไฟฟ้า (Conductance) ได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ ทำจากวัสดุสารกึ่งตัวนำที่ไวต่อแสง บางครั้งเราเรียก LDR เซนเซอร์ชนิดนี้ ว่าโฟโตรีซีสเตอร์ (Photoresistor) หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์ (Photoconductor) บางครั้งจะอยู่ในรูปแบบโมดูลวัดความสว่างที่ใช้ LDR เป็นเซนเซอร์โมดูลนี้ให้สัญญาณเอ

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)        มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current motor) หรือเรียกว่า ดี.ซี มอเตอร์ (D.C. MOTOR) เป็นเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรงที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลมีทั้งชนิดกระตุ้นฟีลด์จากภายนอก (Separated excited motor) และชนิดกระตุ้นฟีลด์ด้วยตัวเอง (Self excited motor) มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นต้นกำลังขับที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะ มีคุณสมบัติที่เด่นในด้านการปรับความเร็วรอบตั้งแต่ความเร็วรอบต่ำสุดไปจนถึงความเร็วรอบสูงสุด นิยมใช้ในโรงงานทอผ้า โรงงานเส้นใยโพลี เอสเตอร์ โรงงานถลุงโลหะ และเป็นต้นกำลังขับในรถไฟฟ้า       หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current motor) เมื่อแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปในมอเตอร์ ส่วนหนึ่งจะ แปรงถ่านผ่านคอมมิวเตเตอร์เข้าไปในขดลวดอาร์มาเจอร์สร้างสนามแม่เหล็กขึ้น และกระแสไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่งจะไหลเข้าไปในขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field coil) สร้างขั้วเหนือ-ใต้ขึ้น จนเกิดสนามแม่เหล็ก 2 สนาม ในขณะเดียวกันตามคุณสมบัติของเส้นแรง แม่เหล็กจะไม่ตัดกัน ทิศทางตรงข้ามจะหักล้างกันและทิศทางเดียวจะเสริมแรงกัน ทำให้เกิดแรงบิดในตัวอาร์มาเจอร์ ท

ตัวต้านทาน (Resistor) คืออะไร

  ตัวต้านทาน (Resistor) คืออะไร     ตัวต้านทาน หรือเรียกอีกชื่อว่าตัว R เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปนิยมเอามาประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟ้ฟ้า เช่น วงจรเครื่องรับวิทยุ วงจรโทรทัศน์ วงจรเครื่องขยายเสียง เป็นต้น ตัวต้านทานที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้าทำหน้าที่ในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทำด้วยลวดต้านทานหรือถ่านคาร์บอน เป็นต้น ในกรณีที่มีความต้านทานมากจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อยลง หากกลับกัน หากมีความต้านทานน้อยจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้มาก ลดแรงดัน และจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ตัวต้านทานมีรูปแบบและขนาดแตกต่างกันตามลักษณะของการใช้งาน นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็นชนิด ค่าคงที่ และ ชนิดปรับค่าได้ คุณสมบัติเฉพาะตัวของ ตัวต้านทาน "ต้านทานกระแสไฟฟ้า "ทั้งไฟฟ้ากระแสสลับ และ ไฟฟ้ากระแสตรง" จากกฎของโอห์มที่ว่า E=I x R (แรงดัน เท่ากับ กระแส คูณ ความต้านทาน) ชนิดและรูปร่างหน้าตาของ ตัวต้านทาน       ตัวต้านทานมีมากมายหลากหลายชนิด แต่อันที่จริงแล้วเพียงแค่รูปร่างหน้าตาเท่านั้นที่ไม่เหมือนกัน เพราะจุดประสงค์หลักก็คือ "ต้านทานกระแสไฟฟ้า" เอาหละไปดูกันดีกว่าครับว่ามีแบบไหนที่

เซอร์โวมอเตอร์ Servo Motor คืออะไร

 เซอร์โวมอเตอร์ Servo Motor        เซอร์โวมอเตอร์ Servo Motor  เป็นรูปแบบหนึ่งของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง(DC Motor) เหมาะสำหรับนำมาพัฒนาเรียนรู้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งภายในจะประกอบไปด้วยชุดเฟืองและวงจรควบคุม ทำให้มีกำลังขับมากเป็นพิเศษ และสามารถควบคุมการหมุนไปเป็นมุมต่าง ๆ ได้ตามต้องการ นอกจากนี้เซอร์โวมอเตอร์บางรุ่นยังได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษให้สามารถหมุนรอบ 360 องศาได้อีกด้วย      เซอร์โวมอเตอร์มีหลายรุ่น หลายขนาด ขึ้นอยู๋กับกำลังหรือแรงที่ต้องการนำไปใช้งาน ตลอดจนจำเป็นต้อง พิจารณาถึงการกินกระแสไฟฟ้าด้วย กล่สคือถ้าต้องการกำลังมากก็จะกินไฟมากนั่นเอง   เซอร์โวมอเตอร์ในปัจจุบันมีจำหน่ายอยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบกระแสตรง (DC Motor) และแบบกระแสสลับ (AC Motor) ด้วยคุณสมบัติเด่นของ Servo Motor คือ สามารถให้แรงบิดที่สูง (มีหน่วยเป็นนิวตันเมตร) มีทำงานได้รวดเร็ว สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ และทำงานได้เงียบ จึงมีการนำเอา Servo Motor ไปประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลาย การเลือกใช้งานเซอร์โวมอเตอร์        เซอร์โวมอเตอร์(ส่วนใหญ่)ใช้แรงดันไฟฟ้า 5V และมีองศาการหมุนที่ 0 ถึงประมาณ 200 องศา (ยกเว้นมีกา

หลอด LED หรือ ไดโอดเปล่งแสง

หลอด LED หรือ ไดโอดเปล่งแสง      ไดโอดเปล่งแสง (light-emitting diode) เรียกย่อ ๆ ว่า LED คือ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกสารกึ่งตัวนำซึ่งสามารถเปล่งแสงออกมาได้แสงที่เปล่งออกมาประกอบด้วยคลื่นความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างกับแสงธรรมดาที่ตาคนมองเห็นโดยหลอด LED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างก็ยังดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป LED เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ให้แสงสว่างซึ่งมีหลายขนาดและมีรูปร่างหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานหลอด LED สามารถให้แสงได้หลายๆ ความยาวคลื่น เช่น สามารถให้แสงสีแดง, แสงสีน้ำเงิน, แสงสีเขียว, แสงสีขาว ฯลฯ       โดยทั่วไปมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ LED ชนิดที่ตาคนเห็นได้ กับชนิดที่ตาคนมองไม่เห็นต้องใช้ทรานซิสเตอร์มาเป็นตัวรับแสงแทนตาคน       ปัจจุบันจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เทคโนโลยีของ LED ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วตามไปด้วย. LED ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านสีของแสงที่เปล่งออกมา ไม่ว่าจะเป็นสีแดง ,สีเขียว ,สีส้ม หรือที่ผลิตได้ท้ายสุด และทำให้วงการแอลอีดีพัฒน

สายเชื่อมต่อ (Jumper Wires)ที่ใช้สำหรับบอร์ดทดลอง

สายเชื่อมต่อ (Jumper Wires)ที่ใช้สำหรับบอร์ดทดลอง       สายไฟ​หรือ​สาย​ต่อ​วงจร​ที่​เหมาะกับ​เบรด​บอร์ด​นั้นควร​เป็นสาย​ทองแดง​เดี่ยว​ที่​ได้รับ​การ​ชุบ​ด้วย นิเกิล​หรือ​เงิน มี​ความ​แข็งแรง​พอสมควร สามารถ​ดัด​หรือ​ตัด​ได้​ง่าย มี​ขนาด​เส้น​ผ่าน​ศูนย์กลาง 0.4 มิลลิเมตร หรือ​ใช้​สาย​เบอร์ 22AWG ทั้งนี้​หาก​ใช้​สาย​ที่​มี​ขนาดใหญ่กว่า​นี้​จะ​ทำให้​แผง​โลหะ​ของ​แผง​ต่อ​วงจร​หลวม ไม่​สามารถ​บีบ​จับ​สายไฟ​ได้​อีก              ใน​ปัจจุบัน​มี​ผู้ผลิต​สาย​สำหรับ​เสียบ​ต่อ​วง​จรบน​เบรด​บอร์ด​โดยเฉพาะ โดย​ทำจาก​สายไฟ​อ่อน​บัดกรี​เข้ากับ​ขา​ตัวนำ​ที่​มี​ความ​แข็ง (คล้ายๆ กับ​ขา​คอ​นเน็กเตอร์) แล้ว​หุ้ม​จุด​เชื่อม​ต่อ​ด้วย​ท่อ​หด​เพื่อ​เพิ่ม​ความ​แข็งแรง​และ​ป้องกัน​การ​หัก​งอ                     ไม่​แนะนำ​ให้​ใช้​สายโทรศัพท์​ที่​เป็น​ทองแดง​ล้วนๆ เนื่องจาก​สาย​เหล่านั้น​มี​การ​อาบ​น้ำยา​กันสนิม หาก​นำมาใช้​ต่อ​วงจร​ทันที อาจ​ทำให้​วงจร​ไม่ทำงาน เพราะ​น้ำยา​ที่​เคลือบ​ลวด​ทองแดง​อยู่​มี​คุณสมบัติ​เป็น​ฉนวน​ทำให้​กระแสไฟฟ้า​ไม่​สามารถ​ไหลผ่าน​ไป​ได้ หาก​ต้อง​นำมาใช้​จริงๆ ควร​ใช้​มีด​ขูด​

เบรดบอร์ด (Breadboard) หรือ โพรโทบอร์ด (protoboard)

 เบรดบอร์ด (Breadboard) เบรดบอร์ดเป็นแผงทดลองต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์  เป็น อุปกรณ์พื้นฐานที่นักทดลองวงจรเล็กทรอนิกส์ รู้จักและใช้งานตั้งแต่วันที่ก้าวเข้าสู่วงการ นี่คือตัวช่วยสำคัญในการเรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ และพัฒนาโครงงานต้นแบบใน ​ การ ​ เรียนรู้ ​  และ ​ ทดลอง ​ วงจร ​  หรือ ​ โครงงาน ​ อิเล็กทรอนิกส์ ​  การ ​ ต่อ ​ วงจร ​ เพื่อ ​ ทดสอบ ​ การ ​ ทำงาน ​ เป็น ​ สิ่ง ​ ที่ ​ จำเป็น ​ อย่างยิ่ง   มี ​ วิธีการ ​ มากมาย ​ ใน ​ การ ​ ต่อ ​ หรือ ​ สร้าง ​ วงจร ​ ทาง ​ ฮาร์ดแวร์ ​ ขึ้น ​ มา   ไม่ว่า ​ จะ ​ เป็นการ ​ ต่อ ​ วงจร ​ โดย ​ ใช้ ​ ปากคีบการ ​ ใช้ ​ สายไฟ ​ มา ​ พัน ​ ที่ ​ ขา ​ อุปกรณ์   การ ​ บัดกรี ​ ขา ​ อุปกรณ์ ​ ต่าง ๆ เข้า ​ ด้วยกัน ​ แบบ ​ ตรงไป ​ ตรง ​ มา     การ ​ ใช้ ​ แผ่น ​ วงจร ​ พิมพ์ ​ เอ ​ นก ​ ประสงค์ การ ​ ทำ ​ แผ่น ​ วงจร ​ พิมพ์ ​ จริง ๆ   ขึ้น ​ มา   หรือ ​ การ ​ ใช้ ​ อุปกรณ์ ​ ที่ ​ เรียกว่า ​ เบรด ​ บอร์ด ( breadboard) หรือ ​ เรียก ​ เป็น ​ ภาษาไทย ​ ว่า ​ แผง ​ ต่อ ​ วงจร ข้อดีของการใช้เบรดบอร์ด  การ ​ ต่อ ​ วงจร ​ แบบ ​ ชั่วคราว ​ หรือ ​ การ ​ ทดลอง ​ วงจร ​