ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นิยม ตอนที่ 1



ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นิยม ตอนที่ 1

          1. ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล Z-80 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นิยมใช้กันในยุคเริ่มแรก เป็นลักษณะของ CPU มีลักษณะเป็น CPU เล็ก ๆ (ยังไม่ถึงขั้นไมโครคอนโทรลเลอร์) ที่ต้องอาศัย อินพุต/เอาต์พุต ต่าง ๆ เพิ่มเติมเข้ามามากทำให้บอร์ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จัดได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ที่ดี ของยุคสมัยนั้น และทำให้ได้เรียนรู้ชุดคำสั่งที่เป็น Op Code (สุดคำสั่งที่ระบุให้หน่วยประมวลนั้นทำอะไรเช่น บวก ลบ คูณ หาร) ในทางคอมพิวเตอร์เราจะเรียกรหัสดำเนินการหรืออปโค้ต (operation code) หรือ op-code นั้นเอง


         2. ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล MCS-51 ถือว่าเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบริษัทอินเทล ที่เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านผลิตหน่วยประมวลผลให้กับคอมพิวเตอร์ เป็นผู้เริ่มต้นพัฒนาต่อจากตระกูล Z-80 ทำให้การศึกษาเกี่ยวกับไมโครคอน โทรลเลอร์ง่ายขึ้น โดยอาศัยการเขียนโปรแกรมในลักษณะของภาษา แอสเซมเบลอร์ (assembler) ซึ่งเป็นภาษาที่มีให้ผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมได้รวดเร็วมาก แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องความยากของภาษาและจำนวนบรรทัดในการเขียนคำสั่งที่มาก และก็มีข้อจำกัดเรื่องความยากของภาษาและจำนวนบรรทัดในการเขียนคำสั่งที่มาก แต่ด้วยสถาปัตยกรรมในการออกแบบทำให้ไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นนี้จะช่วยลดอุปกรณ์รอบข้างลงไปได้มาก เหมาะที่จำไปใช้งาน


          3. ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล PIC บริษัท Microchip Technology เป็นผู้สร้างและผลิต PIC เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ได้รับความนิยมสูงอีกตระกูลหนึ่ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง PIC มาจากคำว่า (Peripheral Interface Controller) ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลนี้ มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นในทุกด้าน ทำให้ได้รับความนิยมกว่าไมโครคอนโทรลเลอร์ก่อนหน้า เพราะได้เปรียบในเรื่องของอุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีจำนวนน้อย ประกอบกับมีหน่วยความจำ EEPROM ในตัวเอง จึงทำให้ง่ายต่อการบันทึกและจัดก็บข้อมูล และมีพอร์ตรวมอยู่ในตัว IC อยู่แล้ว จึงสามารถต่อออกมาใช้งานภายนอกได้โดยตรงเมื่อมีกระแสและแรงดันที่เพียงพอ และอีกความสามารถหนึ่งที่สำคัญคือ สามารถโปรแกรมตัว Boot Loader เข้าไปในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ทำให้ง่ายต่อการโหลดโปรแกรมเข้าไปจากคอมพิวเตอร์โดยผ่านทาง Serial Port จากนั้นกดปุ่ม Reset  ไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูลนี้ก็จะทำงานได้ทันทีตามที่มีการเขียนโปรแกรมไว้




แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า