5.
ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล Arduino เป็นพระเอกของเราเพราะในบล็อกนี้จะนำมาทดลองเกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์ให้ผู้อ่านได้ศึกษา
ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลนี้เป็นบอร์ดแบบสำเร็จรูปในยุคปัจจุบัน ซึ่งถูกสร้างมาจาก Controller
ตระกูล AVR ของ ATMEL ข้อดีของไมโครคอนโทรลเลอร์แบบนี้คือเรื่องของโปรแกรมที่ใช้พัฒนาเป็นแบบฟรี
(Open Source) ที่ผู้พัฒนาสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์ต่าง
ๆ ได้ และความสามารถในการเพิ่ม Boot Loader เข้าไปที่ตัว AVR
จึงทำให้การ Upload Code เข้าตัวบอร์ดสามารถทำได้ง่ายขึ้น
และยังมีการพัฒนาโปรแกรม(Software) ที่ใช้ในการควบคุมตัวบอร์ดของ
Arduino มีลักษณะเป็นภาษา C++ ที่โปรแกรมเมอร์ มีความคุ้นเคยในการใช้งาน ตัวบอร์ดสามารถนำ Module (อุปกรณ์ต่อพ่วง) มาต่อเพิ่มซึ่งทาง Arduino เรียกว่าเป็น
shield เพื่อเพิ่มความสามารถเพิ่มขึ้น และที่สำคัญยังสามารถนำเซนเซอร์วัดค่าต่าง
ๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น เสียง แสง สี หรือแม้กระทั่งค่าออกซิเจนภายในน้ำก็สามารถวัดได้
ตลอดจนยังมีเว็บไซต์ของผู้พัฒนา คือ https://www.arduino.cc
ที่ให้ความรู้ และยังมีการเผยแพร่โปรเจคใหม่จากทุกที่ทั่วโลกให้ได้ศึกษาและพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ทางด้านไมโครคอนโทรลเลอร์อย่างต่อเนื่อง
ผู้เขียนจึงเลือกใช้บอร์ดนี้ในการทดลองและเรียนรู้เกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์
ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นิยม ตอนที่ 2
4. ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล AVR เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นที่ได้รับการพัฒนายอดมาจาก MCS-51 โดยบริษัท ATMEL นั้นเอง เพราะความนิยมของ MCS-51 เริ่มลดน้อยลงและไม่ค่อยมีคนนำไปใช้งานจริง ที่มีใช้งานเฉพาะในสถาบันการศึกษาที่เป็นเช่นนี้เพราะการออกแบบวงจรที่ค่อนข้างยุ่งยาก และต้องอาศัยการต่ออุปกรณ์ร่วมมากนั้นเอง ดังนั้นไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR จึงเข้ามาเป็นที่นิยมในการทำงานด้านนี้ โดยคุณสมบัติหลักที่น่าสนใจก็คือ สามารถเชื่อมต่อ(Interface) ผ่านสาย USB ได้โดยตรงซึ่งไมโครคอนโทรลเลอร์ยุคก่อนหน้านี้ทำไม่ได้ อย่ามากก็อาศัยการเชื่อมต่อโดยต่อผ่านพอร์ต RS-232 แต่เนื่องด้วยคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ พอร์ต RS-232 ไม่ได้ติดตั้งมากับเมนบอร์ด ดังนั้น ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลนี้ จึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
6. ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล Raspberry Pi เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์บอร์ดในยุคปัจจุบันเหมือนกัน ใช้คอนโทรลเลอร์ในตระกูล
ARM เช่นกัน แต่สั่งที่น่าสนใจสำหรับบอร์ด Raspberry
Pi ก็คือการจำลองตัวมันเองให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์เครื่องเล็ก
ๆ เครื่องหนึ่ง ที่สามารถรันระบบปฏิบัติการ Linux ได้ในตัวมันเอง นั้นหมายถึงการดึงระบบต่าง
ๆ เพื่อมาใช้งานในบอร์ดทำให้มีความสะดวกมากเพราะมีระบบปฏิบัติการทำงานให้แทนอยู่แล้ว
อย่างเช่นการติดต่อกับระบบเครือข่าย(Network) การติดต่อกับระบบจอภาพ
การติดต่อระบบเสียง ตลอดจนการติดต่อกับระบบการเก็บข้อมูลผ่าน SD Card ซึ่งสามารถทำได้ครบและครอบคลุม ด้วยระบบปฏิบัติการ Linux ที่รันอยู่บนตัวบอร์ด Raspberry Pi และในปัจจุบันเราจะเห็นการนำไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลนี้มาใช้
เช่น เครื่องแสกนใบหน้าเพื่อบันทึกเวลาการเข้าทำงาน เครื่องวัดอุณหภูมิจากการแสกนอุณหภูมิร่างกาย
ระบบจอดรถ อีกทั้งประยุกต์ใช้งานกับระบบ เป็นต้น เพราะนอกจากจะสามารถประมวลผลได้รวดเร็วแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลไว้บนเครื่องแม่ข่าย(Server) ได้อีกด้วย จึงนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน