ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่สามารถสะสมพลังงานในรูปของสนามไฟฟ้า โดยตัวเก็บประจุ จะมีโครงสร้างอย่างง่าย คือ แผ่นเพลตสองแผ่นอยู่ใกล้ ๆ กันลักษณะของตัวเก็บประจุที่มีใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งตัวเก็บประจุเหล่านี้ มีทั้งแบบมีขั้ว (คือ ชนิดอิเล็กทรอไลต์ และ ชนิดแทนทาลัม) และแบบไม่มีขั้ว (คือชนิดเซรามิก ชนิดไมลาร์และชนิดเอสเอ็มดี)
สัญลักษณ์ทางวงจรของตัวเก็บประจุ
โดยเราใช้ตัวอักษร C กํากับตัวเก็บประจุ และแทนค่าความจุไฟฟ้าด้วย ความจุไฟฟ้า (Capacitance) เป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการสะสมพลังงานค่าความจุไฟฟ้ามีหน่วยเป็น ฟารัด (farad: F) โดย ค่าความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุทั่ว ๆ ไปจะมีค่าอยู่ในระดับ pF – mF
การอ่านค่าขนาดความจุไฟฟ้าที่ระบุบนตัวเก็บประจุนั้น จะขึ้นกับชนิดของตัวเก็บประจุด้วย สําหรับตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลต์ค่าความจุไฟฟ้าและขั้วลบจะระบุอย่างชัดเจนที่ตัวถังดังภาพที่สอง แต่สําหรับตัวเก็บประจุชนิดเซรามิกและไมลาร์ จะมีการใช้ตัวเลขรหัส 3 ตัว และมีตัวอักษร 1 ตัว ในการระบุค่าความจุไฟฟ้า คือตัวเลข 2 ตัวแรก และตัวเลขตัวที่ 3 จะบอกค่าตัวเลขยกกําลัง โดยค่าที่อ่านได้ จะมี
หน่วยเป็น พิโคฟารัด สําหรับรหัสตัวอักษรตัวสุดท้ายซึ่งเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษจะบอกค่าความคลาดเคลื่อนของค่าความจุไฟฟ่านี้
การเลือกใช้ตัวเก็บประจุ เราจะต้องคํานึงถึงค่าพิกัดแรงดันที่ตัวเก็บประจุสามารถทนได้ด้วย เช่น หากเราใช้ตัวเก็บประจุกับวงจรที่มีไฟเลี้ยงขนาดแรงดัน 12 โวลต์เราจะต้องใช้ตัวเก็บประจุที่ทนแรงดันได้มากกว่า 12 โวลต์ เช่น เลือกตัวเก็บประจุที่มีพิกัดแรงดัน 25 โวลต์ เป็นต้น
สําหรับการใช้งานตัวเก็บประจุในวงจรนั้น เราจะใช้ได้ค่อนข้างหลากหลาย ตัวเก็บประจุอาจถูกใช้ในการจ่ายกระแสในช่วงเวลาสั้น ๆ ให้กับส่วนอื่นของวงจรเมื่อแหล่งจ่ายถูกตัดออก และเราอาจใช้ตัวเก็บประจุในการกั้นสัญญาณไฟตรงในแต่ละส่วนของวงจร ดังนั้นตัวเก็บประจุจะเปรียบเสมือนวงจรเปิด (Open Circuit) สําหรับไฟฟ้ากระแสตรง
และ สําหรับสัญญาณความถี่สูง ตัวเก็บประจุตัวเดียวกันนี้สามารถมองได้ว่าเป็นวงจรปิด(Closed Circuit) วงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานที่ใช้ตัวเก็บประจุทํางาน คือวงจรกรองที่ทําให้สัญญาณเรียบขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสําคัญของวงจรแหล่งจ่ายไฟนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ เปิดโลกอิเล็กทรอนิกส์ภาคทฤษฏี : สุวิทย์ กิระวิทยา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น