ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทรานซิสเตอร์(Transistor) คืออะไร

ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

          อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานที่สําคัญมากตัวหนึ่ง คือ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ทรานซิสเตอร์เป็นสิ่งประดิษฐ์ 3 ขา ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนํา โดยคุณสมบัติที่สําคัญของทรานซิสเตอร์ คือ ความสามารถในการ การขยายสัญญาณ(Amplification) และ การสวิตช์ (Switching) จากคุณสมบัตินี้ ทําให้มันถูกใช้ แพร่หลาย ทั้งในแบบเป็นอุปกรณ์เดี่ยว ๆ และ ในวงจรรวม
             ทรานซิสเตอร์ ถูกแบ่งย่อย เป็นหลายประเภท ซึ่งหลัก ๆ ได้แก่ ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อไบโพลาร์ หรือ บีเจที (Bipolar Junction Transistor, BJT) บีเจทีทําจากสารกึ่งตัวนําที่เป็นโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นสองรอยต่อ ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน โดย บีเจที ยังถูกแบ่งย่อยเป็นสองชนิด คือ เอ็นพีเอ็น (์NPN) และ พีเอ็นพี (PNP) ชื่อชนิดของบีเจทีนี้ มาจากชื่อของชั้นรอยต่อที่นํามาสร้าง


             บีเจที เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามขา ที่มีชื่อเรียกแต่ละขา คือ เบส (Base,B) อิมิตเตอร์ (Emitter, E) และ คอลเลกเตอร์ (Collector, C) มีใช้ทั้งแบบไม่มีและมีวงกลม โดยลูกศรที่ระบุในสัญลักษณ์ จะบ่งบอกทิศทางการไหลของกระแส เมื่อบีเจทีทํางานในโหมดปกติ
      อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ทรานซิสเตอร์ สามารถทํางานเป็นสวิตช์ และ ตัวขยายสัญญาณ สําหรับบีเจทีนั้น การทํางานเป็นสวิตช์ทําได้โดยการป้อนกระแสให้กับขาเบส  โดยเมื่อกระแสไหลเข้าขาเบสแล้ว บีเจทีชนิดเอ็นพีเอ็น ก็จะเป็นเสมือนวงจรปิดที่ด้าน คอลเลกเตอร์-อิมิตเตอร์ โดยหากเราต่อแอลอีดี (หรือ อุปกรณ์อื่น ๆเช่น รีเลย์ มอเตอร์) อุปกรณ์เหล่านั้นก็จะทํางาน เพราะเกิดกระแสไหลผ่าน แต่เมื่อเราหยุดป้อนกระแสให้กับขาเบส บีเจทีชนิดเอ็นพีเอ็นก็จะทําหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด
      ถึงตรงนี้ บางคนอาจจะสงสัยว่า ทําไมเราไม่เอาแหล่งจ่ายของเราไปต่อกับแอลอีดี (หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ) โดยตรง นั่นเพราะว่า ในการใช้งานวงจรนั้น แหล่งจ่ายของเรา อาจจะไม่สามารถจ่ายกระแสสูง ๆ ได้ เช่นหากแหล่งจ่าย คือ สัญญาณที่ได้จากเซนเซอร์ ที่มีระดับแรงดันต่ํามาก ๆ (ระดับไม่กี่มิลลิโวลต์) และ แอลอีดีต้องการกระแสในระดับ สิบมิลลิแอมแปร์ในการทํางาน สําหรับการใช้ทรานซิสเตอร์นั้นกระแสเบส IB ที่ใช้นี้ ปกติจะอยู่ในระดับต่ํามาก และ เราสามารถเลือกทรานซิสเตอร์ให้เหมาะสม ได้จากการดูข้อมูลจําเพาะของทรานซิสเตอร์แต่ละเบอร์ที่มีอยู่

     การใช้ทรานซิสเตอร์ขยายสัญญาณ ทําได้โดยการต่อวงจร และ เลือกระดับการไบแอสให้เหมาะสม ด้วยการเลือกใช้ตัวต้านทาน และ ตัวเก็บประจุค่าต่าง ๆ แสดงตัวอย่างวงจรขยายสัญญาณที่ใช้บีเจทีตัวเดียว สัญญาณไฟสลับจากแหล่งกําเนิด vin จะสามารถผ่านตัวเก็บประจุ CC1 มาที่ขาเบสได้ ซึ่งสัญญาณนี้ จะทํา
ให้ทรานซิสเตอร์ทํางานตามจังหวะของสัญญาณ และ ทําให้เกิดเป็นสัญญาณที่ถูกขยาย (แบบกลับเฟส) ออกไปที่ขั้วคอลเลกเตอร์ ผ่านตัวเก็บประจุ CC2
     ทรานซิสเตอร์อีกตระกูลหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมใช้ คือ ทรานซิสเตอร์ชนิดปรากฎการณ์สนาม หรือ เฟต (Field Effect Transistor, FET) เฟต มีด้วยกันหลายชนิด หลัก ๆ ได้แก่ เจเฟต (Junction FET, J-FET) และ มอสเฟต (Metal-Oxide-Semiconductor FET, MOSFET) โดยมอสเฟต ยังแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น มอสเฟตดีพลีชัน และ มอสเฟตเอ็นฮานซ์เมนต์
      ข้อดีของการใช้ เฟต เมื่อเทียบกับ บีเจที คือ เฟตแทบจะไม่กินกระแส(พลังงาน) โดย สัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงจรเฟต จะเป็นสัญญาณแรงดันเป็นหลัก ทําให้การพิจารณาออกแบบวงจรด้วยเฟต ง่ายกว่า บีเจที

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือเปิดโลกอิเล็กทรอนิกส์: ภาคทฤษฎี ของอท่านอาจารย์สุวิทย์ กิระวิทยา


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอด LED หรือ ไดโอดเปล่งแสง

หลอด LED หรือ ไดโอดเปล่งแสง      ไดโอดเปล่งแสง (light-emitting diode) เรียกย่อ ๆ ว่า LED คือ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกสารกึ่งตัวนำซึ่งสามารถเปล่งแสงออกมาได้แสงที่เปล่งออกมาประกอบด้วยคลื่นความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างกับแสงธรรมดาที่ตาคนมองเห็นโดยหลอด LED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างก็ยังดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป LED เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ให้แสงสว่างซึ่งมีหลายขนาดและมีรูปร่างหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานหลอด LED สามารถให้แสงได้หลายๆ ความยาวคลื่น เช่น สามารถให้แสงสีแดง, แสงสีน้ำเงิน, แสงสีเขียว, แสงสีขาว ฯลฯ       โดยทั่วไปมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ LED ชนิดที่ตาคนเห็นได้ กับชนิดที่ตาคนมองไม่เห็นต้องใช้ทรานซิสเตอร์มาเป็นตัวรับแสงแทนตาคน       ปัจจุบันจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เทคโนโลยีของ LED ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วตามไปด้วย. LED ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านสีของแสงที่เปล่งออกมา ไม่ว่าจะเป็นสีแดง ,สีเขียว ,สีส้ม หรือที่ผลิตได้ท้ายสุด และทำให้วงการแอลอีดีพัฒน

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega 2560

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega 2560        บอร์ด Arduino Mega 2560 จะเหมือนกับ Arduino MEGA ADK ต่างกันตรงที่บนบอร์ดไม่มี USB Host มาให้ การโปรแกรมยังต้องทำผ่านโปรโตคอล UART อยู่ บนบอร์ดใช้ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ATmega2560 ข้อมูลจำเพาะ      1. ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ ATmega2560      2. ใช้แรงดันไฟฟ้า 5V      3. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) 7 – 12V      4. รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) 6 – 20V      5. พอร์ต Digital I/O 54 พอร์ต (มี 15 พอร์ต PWM output)      6. พอร์ต Analog Input 16 พอร์ต      7. กระแสไฟฟ้ารวมที่จ่ายได้ในทุกพอร์ต 40mA      8. กระแสไปที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V 50mA      9. พื้นที่โปรแกรมภายใน 256KB แต่ 8KB ถูกใช้โดย Bootloader      10. พื้นที่แรม 8KB      11. พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) 4KB      12. ความถี่คริสตัล 16MHz ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ioxhop.com/

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)        มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current motor) หรือเรียกว่า ดี.ซี มอเตอร์ (D.C. MOTOR) เป็นเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรงที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลมีทั้งชนิดกระตุ้นฟีลด์จากภายนอก (Separated excited motor) และชนิดกระตุ้นฟีลด์ด้วยตัวเอง (Self excited motor) มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นต้นกำลังขับที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะ มีคุณสมบัติที่เด่นในด้านการปรับความเร็วรอบตั้งแต่ความเร็วรอบต่ำสุดไปจนถึงความเร็วรอบสูงสุด นิยมใช้ในโรงงานทอผ้า โรงงานเส้นใยโพลี เอสเตอร์ โรงงานถลุงโลหะ และเป็นต้นกำลังขับในรถไฟฟ้า       หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current motor) เมื่อแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปในมอเตอร์ ส่วนหนึ่งจะ แปรงถ่านผ่านคอมมิวเตเตอร์เข้าไปในขดลวดอาร์มาเจอร์สร้างสนามแม่เหล็กขึ้น และกระแสไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่งจะไหลเข้าไปในขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field coil) สร้างขั้วเหนือ-ใต้ขึ้น จนเกิดสนามแม่เหล็ก 2 สนาม ในขณะเดียวกันตามคุณสมบัติของเส้นแรง แม่เหล็กจะไม่ตัดกัน ทิศทางตรงข้ามจะหักล้างกันและทิศทางเดียวจะเสริมแรงกัน ทำให้เกิดแรงบิดในตัวอาร์มาเจอร์ ท