ไดโอด (Diode)
ไดโอด (Diode) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน (Si) โดยไดโอดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขั้ว หากต่อกลับทิศทางจะไม่ทำงาน ขั้วที่่ต่อออกมาจากไดโอด มีชื่อเรียกคือ แอโนด (Anode) เราใช้ตัวย่อ คือตัว A และ แคโทด (cathode) ตัวย่อคือ K ลักษณะไดโอดที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน
นอกจากไดโอดที่นำมาใช้เป็นสวิตช์แล้ว ยังมีไดโอดประเภทอื่น ๆ ที่ใช้งานในวงจร อิเล็กทรอนิกส์อีก เช่น ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) และ ช็อตกี้ไดโอด (Schottky Diode) ผู้ที่สนใจการทำงานของไดโอดเหล่านี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากอินเตอร์เน็ตนะครับ
และที่เราใช้งานในชีวิประจำวันจะไม่พูดถึงเลยไม่ได้ นั่นก็คือไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode, LED) มีชื่อย่อที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ แอลอีดี โดยแอลอีดีคือไดโอดที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดที่เปล่งแสงได้นั่นเอง สีของแอลอีดีจะกำหนดได้จากสารกึ่งตัวนำที่นำมาใช้สร้าง สำหรับลักษณะตัวถังของ แอลอีดีมีหลายรูปแบบ ลักษณะแอลอีดีที่พบเห็นได้ทั่วไป สำหรับข้อกำหนดเรื่องขาของแอลอีดีนั้น ผู้ใช้ต้องสังเกตจากลักษณะภายในตัวแอลอีดี คือ ขั้วภายใน ที่เล็กจะเป็นขั้วแอโนด (A) และ ขั้วภายในที่ใหญ่เป็นขั้วแคโทด (K) สัญลักษณ์ทางวงจรของแอลอีดี โดยสำหรับแอลอีดีแบบเอสเอ็มดีอาจไม่มีสิ่งที่ระบุขั้วบนตัวถัง
ขอขอบคุณบทความจาก... หนังสือเปิดโลกอิเล็กทรอนิกส์: ภาคทฤษฎี ของอท่านอาจารย์สุวิทย์ กิระวิทยา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น